โรคมะเร็งผิวหนัง (skin cancer)
โรคมะเร็งผิวหนัง (skin cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบมากประมาณร้อยละ 5 ของโรคมะเร็งทั้งหมด พบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่สามารถพบได้เร็วกว่ามะเร็งชนิดอื่น เนื่องจากเห็นได้จากภายนอก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ธรรมชาติของมะเร็งผิวหนังจะขยายตัวค่อนข้างช้า บางรายอาจนานถึง 5-10 ปี แต่ถ้าไม่รักษาจะมีผลต่ออวัยวะใกล้เคียงไปจนถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้
สาเหตุของมะเร็งผิวหนัง
1.การถูกแสงแดดมากเกินไป เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวมีความเข้มข้นของรังสีอัลตร้าไวโอเล็ทสูงสุด ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังมักเกิดจากแสงแดด ผิวหนังส่วนที่ถูกแสงแดดจะพบว่าเป็นมะเร็งมากกว่าผิวหนังส่วนอื่นๆ
2.โรคมะเร็งผิวหนังมักพบในแผลเรื้อรังที่มีการระคายเคืองเป็นเวลานานๆ หูด ไฝ ปาน ที่มีการระคายเคืองเรื้อรังอาจกลายเป็นมะเร็งได้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการเป็นแผลเรื้อรังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยีน โดยมีการทำลายยีนที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังตามปกติ นอกจากนี้ยังพบโรคมะเร็งผิวหนังที่บริเวณแผลเป็นจากรอยไหม้เพิ่มมากขึ้น
3.เกิดจากการระคายเคืองของสารเคมี เช่น การได้รับสารหนูในปริมาณสูง โดยเฉพาะยาที่มีส่วนประกอบของสารหนู ทั้งยาแผนโบราณ ยาจีน ยาไทย เมื่อรับประทานนานๆ จะทำให้เป็นโรคผิวหนัง และกลายเป็นมะเร็งในที่สุด บางรายอาจได้รับจากแหล่งน้ำและอาหาร
4.การถูกแสงเอกซเรย์ในปริมาณสูงทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้
5.ปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
กลุ่มเสี่ยง
1.ผู้ที่ถูกแสงแดดมาก
2.ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง
3.ชนผิวขาวที่ไวต่อการถูกแสงแดดไหม้ (sunburn)
อาการของโรคมะเร็งผิวหนัง
อาการของมะเร็งผิวหนังส่วนใหญ่เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยายขึ้น ขรุขระ อาจมีสีดำที่ขอบๆ และเมื่อเป็นมากจะเป็นก้อนที่คล้ายดอกกะหล่ำปลี โรคมะเร็งผิวหนังส่วนใหญ่มักพบบริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว
การรักษา
1.การตรวจพบในระยะเริ่มแรกถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นมาก
2.การรักษามะเร็งผิวหนังมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง
3.การรักษามะเร็งผิวหนังโดยใช้วิธีการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งออกให้กว้าง และบางครั้งต้องตัดต่อมน้ำเหลืองที่เป็นทางกระจายของมะเร็ง แล้วแต่ตำแหน่งที่เป็นออก
4.การใช้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา เสริมการผ่าตัดจะทำให้มีโอกาสหายขาดมากขึ้นในมะเร็งระยะลุกลาม
5.การจี้ไฟฟ้า และการรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ได้ผลดีในบางราย
6.การฉายแสงหรือการใช้วิธีเคมีบำบัดซึ่งเป็นยาฆ่าเซลล์มะเร็ง
7.ถ้าเป็นผื่นแอคตินิค เคราโตซิส สามารถใช้การจี้ด้วยความเย็นในการรักษาก็เพียงพอ
8.ถ้าลุกลามเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า ใช้วิธีการจี้ไฟฟ้า ร่วมกับการขูดผิวหนังหรือการตัดออก และการผ่าตัดพิเศษที่เรียกว่า Moh”s Surgery ซึ่งจะเลือกวิธีการใด ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย สภาพร่างกายของผู้ป่วย และลักษณะของเนื้อที่ผิดปกติ
9.ถ้าเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า ต้องใช้วิธีการผ่าตัด Moh”s Surgery
การป้องกัน
1.การหลีกเลี่ยงจากแสงแดดเป็นการป้องกันมะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุด
2.หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง เช่น การรับประทานยาที่มีส่วนผสมของสารหนู
3.หมั่นสังเกตความผิดปกติของไฝหรือขี้แมลงวัน หากพบว่ามีผิวหนังที่ผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
4.ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน
5.สวมเสื้อที่มิดชิด สวมหมวกปีกกว้างหรือกางร่ม
6.ควรเริ่มป้องกันแสงแดดตั้งแต่วัยเด็ก
7.หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 10.00-15.00 น.
8.ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF > 15
9.หลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อการระคายเคืองของผิวหนัง เช่น การสัมผัสสารเคมีบ่อยๆ หรือ การใช้วัตถุขัดถูผิวหนังอย่างแรงๆบาง
มะเร็งนั้นสามารถป้องกันไว้ตั้งตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการรับประทานอาหารเสริมสมุนไพร CA ซึ่งสกัดจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งหลายสิบชนิดที่จะช่วยกระตุ้นการทำงาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน (เซลล์เม็ดเลือดขาว) และสามารถขจัดสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือแม้แต่เซลล์มะเร็ง ทั้งยังช่วยดูแลร่างกายองค์รวมให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้คุณมีชีวิตอยู่กับคนที่รักได้อย่างยาวนานและมีความสุข CA อาหารเสริมสมุนไพรเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง เพราะเราเชื่อว่า “มะเร็งมีทางออก”
ขอขอบคุณบทความจาก http://www.vachiraphuket.go.th