มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่

รังไข่มี ลักษณะคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ อยู่สองข้าง ข้างซ้ายขวาของโพรงมดลูก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและไข่ ชนิดของมะเร็งรังไข่แบ่งตามตำแหน่งเริ่มต้นของเซลล์มะเร็งได้ 3 กลุ่ม คือ

– Epithelial Tumors : มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ จุดเริ่มต้นที่เซลล์เยื่อบุผิวรังไข่และช่องท้อง เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 90% ของมะเร็งรังไข่

– Germ Cell Tumors : มะเร็งฟองไข่ จุดเริ่มต้นของก้อนเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิด พบได้ร้อยละ 5-10 ของมะเร็งรังไข่ มักพบในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี

– Sex Cord-Stromal Tumors : มะเร็งเนื้อรังไข่ จุดเริ่มต้นที่เนื้อเยื่อเกี่ยวกันของรังไข่ ซึ่งผลิตฮอร์โมนเพศหญิง โอกาสพบน้อยมาก

ทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นยังสามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ ของร่างกายที่เรียกว่าเป็นมะเร็งรังไข่ระยะแพร่กระจาย

ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งรังไข่

– อายุ : 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งไข่ มีอายุเฉลี่ย 55 ปี หรือมากกว่า

– ประวัติครอบครัว : ผู้หญิงที่มี แม่ พี่สาวน้องสาว ยาย ป้า หรือน้า เป็นมะเร็งรังไข่ จะมีความเสี่ยงการเป็นมะเร็งรังไข่สูงขึ้น

– การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม (Genetic Mutations) : ในผู้ที่พบมีการกลายพันธุ์ของ 1 ใน 2 ยีนมะเร็งเต้านม BRCA1 และ BRCA2 มีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งรังไข่สูงขึ้น

– มะเร็งเต้านมลำไส้ใหญ่ หรือเยื่อบุโพรงมดลูก : ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการพัฒนาเป็นมะเร็งรังไข่ได้

– การคลอดบุตร : ผู้หญิงที่มีการคลอดบุตรอย่างน้อย 1 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนอายุ 30 ปี มีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่น้อยกว่า การมีบุตรหลายคน และการให้นมบุตร พบว่ามีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่น้อยลง

– โรคอ้วน : ผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 30 หรือสูงกว่า อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้น

– บางการศึกษามีการเชื่อมโยงระหว่างฮอร์โมนทดแทน (HRT) และมะเร็งรังไข่ ความเสี่ยงนี้ดูเหมือนจะมากสำหรับผู้หญิงที่ใช้เอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวนานกว่า 5 ปี แต่ต้องทำการศึกษามากกว่านี้

อาการของมะเร็งรังไข่

– ท้องอืดเป็นประจำ

– มีก้อนในช่องท้องหรือช่องเชิงกราน จึงอาจทำให้เกิดอาการแน่นหรือปวดท้อง

– ก้อนเนื้ออาจกดเบียดลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้รู้สึกปวดถ่วง ถ่ายอุจจาระไม่สะดวกหรือลำบาก

– เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้น จะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยและขัด

– เมื่อเซลล์มะเร็งมีการกระจายไปในช่องท้อง จึงอาจทำให้เกิดมีน้ำในช่องท้อง ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนอ้วนขึ้นได้ ท้องโตขึ้นกว่าเดิม

– เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด

– อาจมีประจำเดือนผิดปกติ บางรายอาจพบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น มีเสียงห้าว มีหนวด หรือขนขึ้นตามลำตัวคล้ายผู้ชายได้ เนื่องจากผลของมะเร็งรังไข่ที่ทำให้ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติไป

– ในบางรายอาจไม่มีการแสดงอาการเลย แพทย์อาจตรวจพบโดยบังเอิญว่ามีก้อนในท้องน้อย

มะเร็งรังไข่

การตรวจหามะเร็งรังไข่

– ตรวจภายใน (Pelvic Exam) : ตรวจบริเวณช่องท้องและช่องเชิงกรานเพื่อหาก้อน มีการนำเทคโนโลยีการถ่ายภาพเข้ามาช่วยให้การตรวจละเอียดชัดเจนขึ้น

– Transvaginal ultrasound : ตรวจโดยใช้หัวตรวจชนิดเรียวยาวใส่เข้าไปในช่องคลอด สามารถดูมดลูก และสิ่งผิดปกติที่อยู่หลังมดลูก

– ตรวจ CA-125 : หากระดับ CA-125 สูงเกินปกติ อาจบ่งชี้ถึงการเป็น มะเร็งรังไข่แต่ก็มีโรคอื่นด้วยเช่นกันที่ CA-125 สูงได้จึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติม

– CT scan : เพื่อดูภาพละเอียดภายในร่างกาย

– Barium enema : เป็นการเอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนล่างด้วยการสวนสารทึบรังสีทางทวาร

– Intravenous pyelogram : เป็นการเอกซเรย์ดูไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ

– Biosy : การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

ระยะของมะเร็งรังไข่

– ระยะ 1 : เซลล์มะเร็งยังอยู่ภายในรังไข่ 1 หรือ 2 ข้าง

– ระยะ 2 : เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่สู่อวัยวะในช่องเชิงกราน เช่น ท่อนำไข่ หรือมดลูก

– ระยะ 3 : เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่และช่องเชิงกราน ไปยังช่องท้องหรือต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง

– ระยะ 4 : เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่ไปยังอวัยวะที่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด

การรักษามะเร็งรังไข่

การผ่าตัด

อาจมีการผ่าตัดตั้งแต่แรกเพื่อดูระยะหรือการลุกลามของมะเร็ง ในกรณีผ่าตัดเพื่อการรักษา แพทย์จะตัดเนื้องอกออกให้มากที่สุดโดยจะพยายามให้เหลือเนื้องอกขนาดไม่เกิน 1 ซมซึ่งการผ่าตัดส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก และจะเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยยังต้องการมีบุตรอีก แพทย์จะตัดเอาเฉพาะรังไข่และท่อนำไข่ด้านที่เป็นมะเร็งออก การให้เคมีบำบัดและรังสีรักษาจะใช้เมื่อมีการกลับมาเป็นซ้ำหลังจากผ่าตัด

หลังจากรักษาต้องนัดตรวจติดตามอย่างน้อยทุก 6 เดือนสำหรับช่วง 5 ปีแรก นอกจากนี้ ถ้าตรวจพบว่ามีการลุกลามของมะเร็งออกนอกรังไข่ตั้งแต่การตรวจพบมะเร็งครั้ง แรก แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งออกให้มากที่สุด ถ้ามะเร็งกระจายไปตามผนังช่องท้องหรืออวัยวะอื่นหลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องได้ รับยาเคมีบำบัด แต่ถ้ายังไม่มีการกระจายไปส่วนดังกล่าว หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด

รังสีรักษา

มีทั้งการฉายรังสีจากภายนอกร่างกายและการฝังแร่ในร่างกาย การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นกับระยะของโรคและชนิดของมะเร็ง

ยาเคมีบำบัด

สำหรับมะเร็งรังไข่จะให้ยาเคมีทางช่องที่มีอวัยวะภายในช่องท้อง (peritoneal cavity) การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นกับระยะและชนิดของมะเร็ง

มะเร็งนั้นสามารถป้องกันไว้ตั้งตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการรับประทานอาหารเสริมสมุนไพร CA ซึ่งสกัดจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งหลายสิบชนิดที่จะช่วยกระตุ้นการทำงาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน (เซลล์เม็ดเลือดขาว) และสามารถขจัดสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือแม้แต่เซลล์มะเร็ง ทั้งยังช่วยดูแลร่างกายองค์รวมให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้คุณมีชีวิตอยู่กับคนที่รักได้อย่างยาวนานและมีความสุข CA อาหารเสริมสมุนไพรเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง เพราะเราเชื่อว่า “มะเร็งมีทางออก”

มะเร็งมีทางออก

ขอขอบคุณบทความจาก www.siamca.com